โรคของปลากัด ที่ต้องรู้ เพื่อช่วยปลาแสนรักให้อายุยืนยาว

โรคของปลากัด

โรคของปลากัด ที่ต้องรู้ เพื่อช่วยปลาแสนรักให้อายุยืนยาว

            ในปัจจุบันผู้คนนิยมนำปลากัดมาเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยง เพราะนอกจากจะมีความสวยงามแล้วปลากัดยังเป็นปลาที่อดทนต่อสภาพแวดล้อมได้เป็นอย่างดี และยังไม่ต้องใช้ออกซิเจนในการเลี้ยงดู เพราะปลากัดสามารถที่จะขึ้นมาหุบอากาศบนผิวน้ำเองได้ ผู้คนจึงนิยมนำมาเป็นสัตว์เลี้ยงเพราะง่ายต่อการเลี้ยงดู แต่ถึงแม้ว่าปลากัดนั้นจะเป็นปลาที่อดทนต่อสภาพแวดล้อมมากเท่าใด ก็ยังสามารถที่จะเกิดโรคขึ้นกับปลากัดได้หากผู้ที่เลี้ยงนั้นมีความรู้ในเรื่องของโรคที่จะเกิดขึ้นกับปลากัดไม่เพียงพอ บทความนี้จึงจะมาบอกถึง โรคของปลากัด ที่มักจะเกิดขึ้น เพื่อให้ผู้เลี้ยงนั้นสามารถที่จะสังเกต และทำการรักษาได้อย่างทันท่วงที เพื่อให้ปลากัดมีอายุที่ยืนยาวมากขึ้น

โรคของปลากัด

            โรคครีบเปื่อยหางเปื่อย โรคนี้เป็นโรคที่มักจะเกิดขึ้นกับปลากัดได้บ่อย หากผู้เลี้ยงมีการดูแลน้ำที่ใช้ในการเลี้ยงปลากัดไม่เหมาะสม โดยอาจเกิดจากน้ำที่ใช้นั้นยังมีคลอรีนหลงเหลืออยู่ สารคลอรีนที่อยู่ในน้ำจึงทำให้ครีบ และหางของปลากัดนั้นเปื่อย หรืออาจมาจากเชื้อแบคทีเรียที่อยู่ในน้ำ เนื่องจากการทำความสะอาดที่ไม่ดีพอ ปลากัดจะมีอาการซึม ไม่ค่อยว่ายน้ำ เบื่ออาหาร ครีบ และหางเริ่มกร่อน ทั้งนี้โรคของปลากัดชนิดนี้สามารถที่จะรักษาให้หายได้หากผู้เลี้ยงมีความใส่ใจมากขึ้น โดยการพักน้ำที่จะใช้เลี้ยงปลากัดไว้ 5-7 วัน เพื่อให้แน่ใจว่าคลอรีนในน้ำจะระเหยไปหมดแล้ว ในระยะแรก ๆของการรักษาควรที่จะมีการเปลี่ยนน้ำที่ใช้ในการเลี้ยงปลากัดประมาณ 2-3 วันต่อครั้ง เพื่อรักษาความสะอาดของน้ำ ใช้น้ำหมักใบหูกวางรักษาร่วมด้วยเพื่อช่วยสมานแผล และผสมเกลือสมุทรลงในน้ำเล็กน้อยเพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรีย และยังเป็นการทำให้ปลากัดรู้สึกสดชื่นขึ้นอีกด้วย

โรคของปลากัด

            โรคสนิม โรคของปลากัดชนิดนี้มักจะเกิดขึ้นจากปรสิตที่อยู่ในน้ำ ซึ่งมาจากอาหารสดที่ใช้ในการเลี้ยง หากนำไฟฉายมาส่องบริเวณลำตัวของปลากัดจะเห็นได้ว่าตามลำตัวมีสีทองคล้ายกับสนิม หากปลากัดเป็นโรคนี้จะมีอาการเช่นเดียวกันกับโรคครีบเปื่อยหางเปื่อย เพียงแต่ไม่มีอาการกร่อนบริเวณครีบ และหาง แต่สามารถที่จะใช้วิธีการรักษาในแบบเดียวกันได้

            ทั้งนี้เป็นเพียงโรคของปลากัดที่มักจะเกิดขึ้นได้บ่อย ยังมีอีกหลายโรคที่สามารถจะเกิดขึ้นได้ ผู้เลี้ยงจึงควรที่จะมีการสังเกตอาการผิดปกติของปลากัด เพราะอาจเป็นสัญญาณของโรคต่าง ๆได้