“ ปลาหมออะไรหัวโห๊นก โหนก ”


สวัสดีค่ะเพื่อนๆ ช่วงนี้ไปทำงานกันหรือว่าหยุดอยู่บ้านกันคะ หรือว่าทำงานอยู่ที่บ้านกันแต่อย่างไรก็ตามเราอย่าพึ่งวางใจกับสถานการณ์ในตอนนี้นะคะ ถึงแม้ว่ายอดผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 ในสัปดาห์ที่ผ่านมามียอดไม่ถึง 100 คนต่อวัน แต่เราก็ยังวางใจไม่ได้นะคะ ถ้าไม่จำเป็นควรหลีกเลี่ยงการเดินทางออกจากบ้านหรือไปตามสถานที่แออัดผู้คนเยอะๆนะคะ เพื่อความปลอดภัยของเพื่อนๆและคนที่เพื่อนๆรักค่ะ

ว่าแต่เป็นอย่างไรกันบ้างค่ะกับบทความที่แล้วที่เราพาเพื่อนๆไปรู้จักกับสายพันธุ์ของเจ้ากระต่ายน้อย มีเพื่อนๆท่านไหนไปหาเอามาเลี้ยงไว้กันบ้างคะ แต่ไม่เป็นไรค่ะ กระต่ายอาจจะยังไม่ถูกใจเพื่อนๆเท่าไหร่ วันนี้มีสัตว์เลี้ยงตัวน้อยๆๆน่ารักๆหัวโหนกๆโตๆมาแนะนำให้เพื่อนๆรู้จักค่ะ

 

สัตว์เลี้ยงตัวน้อยๆที่ว่านี้ก็คือ “ปลาหมอสี” ค่ะ เป็นอย่างไรค่ะคงเคยได้ยินชื่อกันมาบ้างแล้ว วันนี้เราจะพาไม่ทำความรู้จักถึงสายพันธุ์ของปลาหมอสี ว่ามีสายพันธุ์อะไรบ้าง มีแหล่งกำเนิดอยู่ที่ใด รวมถึงอาหารและวิธีการเลี้ยงปลาหมอสีกันค่ะ ถ้าเช่นเรามาทำความรู้จักกับปลาหมอสีกันดีกว่าค่ะ

 

 

ปลาหมอสีมีแหล่งกำเนิดแรกเริ่มอยู่ที่ลุ่มน้ำหรือทะเลสาบในต่างประเทศ โดยจะมีนิสียที่ค่อนข้างจะรักถิ่นฐาน หากมีปลาชนิดอื่นหรือสัตว์น้ำชนิดอื่นเข้ามาในบริเวณอณาเขตของมัน มันจะทำการขับไล่ผู้ที่บุกรุกที่เข้ามาทันที

 

สายพันธุ์ของปลาหมอสีนั้นมีอยู่หลายสายพันธุ์ เช่น ปลาหมอสีสกุลออโลโนคารา ปลาหมอสีสกุลแอริสโทโครมิส ปลาหมอสีสกุลลาบิโอโทรเฟียส ปลาหมอสีสกุลโคพาไดโครมิส เป็นต้น จุดเด่นของปลาชนิดนี้อยู่ตรงโหนกที่บริเวณหัวค่ะ ยิ่งโหนกโตปลาจะยิ่งสวยและมีราคาค่ะ

ปลาหมอสีสามารถปรับตัวกินอาหารได้หลากหลายประเภท แต่ที่สำคัญควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีส่วนผสมของไขมันจากเนื้อสัตว์ เพราะไขมันจากสัตว์นั้นจะเข้าไปทำลายตับของปลาหมอสีและอาจทำให้ตายลงได้ ดังนั้นอาหารควรมีส่วนผสมที่ใกล้เคียงกับอาหารธรรมชาติมากที่สุด เช่นลูกน้ำลูกไร หรืออาจใช้เป็นอาหารสำเร็จรูปสำหรับปลาหมอสีโดยเฉพาะ เพราะอาหารเหล่านี้จะมีส่วนผสมในการทำให้โหนกของปลาหมอสีโตและสวยค่ะ

 

 

การเลี้ยงปลาหมอสีนั้น น้ำจะต้องสะอาดไม่มีเชื้อโรค โดยเราจะไม่ใช้น้ำประปาโดยตรงเพราะในน้ำประปาจะมีคลอรีนผสมอยู่ดังนั้นในการเปลี่ยนน้ำแต่ล่ะครั้งควรเตรียมน้ำพักไว้ 2-3 วันจึงนำน้ำนั้นมาใช้ในการเปลี่ยน ขนาดตู้ที่ใช้ควรมีขนาดใหญ่ซักเล็กน้อยถ้าเลี้ยงปลาหมอสีสายพันธุ์ที่ตัวเล็กขนาดตู้ควรไม่ต่ำกว่า 24 นิ้ว หรือถ้าเป็นปลาหมอสีสายพันธุ์ที่มีขนาดใหญ่ควรใช้ขนาดตู้ที่ไม่ต่ำกว่า 36 นิ้ว ก้อนหินหรือก้อนกรวด รวมถึงพันธุ์ไม้น้ำที่จะนำมาใส่ลงในตู้นั้น ควรจะทำความสะอาดให้เรียบร้อย โดยที่ก้อนหินควรแช่น้ำทิ้งไว้เพื่อลดความเป็นด่างลง ส่วนพันธุ์ไม้น้ำก็เช่นเดียวกันล้างทำความสะอาดให้เรียร้อยและทำการพักไว้ในถังรอให้ฟื้นจากนั้นจึงนำไปจัดลงในตู้ให้สวยงาม

 

เป็นอย่างไรกันบ้างค่ะ อาหารและวิธีการเลี้ยงปลาหมอสี ไม่ยากเลยใช่หรือเปล่าค่ะ เพื่อนๆท่านใดสนใจลองหามาเลี้ยงกันดูนะคะ แล้วเพื่อนๆจะหลงรักโดยไม่รู้ตัวเลยค่ะ