จิ้งจกเขียว มาดากัสการ์ (Day Gecko) สัตว์เลี้ยงแปลกใหม่ สีสัน สดใส

จิ้งจกเขียวมาดากัสการ์ สัตวเลี้ยงแปลก

จิ้งจกเขียวมาดากัสการ์ เป็นสัตว์เลี้ยงแปลกใหม่ หรือที่ต่างชาติรู้จักกันในนาม Phelsuma เป็นสัตว์ตระกูลกลุ่มพวกจิ้งเหลน จิ้งจก ตุ๊กแก เป็นจิ้งจกที่มาไกลจากแดนมาดากัสการ์ มีถิ่นอยู่อาศัยใน Madagascar and the surrounding islands of the Indian Ocean ในต่างประเทศมีคนนิยมเลี้ยงเยอะมาก

เนื่องจาก จิ้งจกเขียวมาดากัสการ์ นั้นนำมาขยายพันธุ์ได้ง่าย ราคาไม่สูงมากนัก ทั้งด้วยสีสันสวยงามมีหลากหลายชนิดมาก แต่ละชนิดเองก็จะมีสีสันที่สดใสแบบนี้เช่นกัน และที่เห็นเพาะเลี้ยงขายกันในบ้านเรา ก็จะนำเข้ามาจากเกาะของมาดากัสการ์ซะเป็นส่วนใหญ่ นับว่า จิ้งจกเขียวมาดากัสการ์ เป็นสัตว์ชนิดเลี้ยงง่าย เพราะการเลี้ยง จิ้งจกเขียวมาดากัสการ์ สามารถเข้ากับอากาศบ้านเราได้เป็นอย่างดี เหมาะแก่การเพาะขยายพันธุ์ได้ง่ายอีกด้วย

จิ้งจกเขียวมาดากัสการ์ เป็นสัตว์ชนิดเลี้ยงง่าย เหมาะกับการเลี้ยงในอากาศบ้านเราได้เป็นอย่างดี

จิ้งจกเขียวมาดากัสการ์ สัตว์เลี้ยงที่นิยมเลี้ยงกันแพร่หลาย

เพราะคนส่วนใหญ่มักจะเข้าใจว่าจิ้งจกเปลี่ยนสีได้ แต่ในความเป็นจริงแล้วนั้น จิ้งจกจะแค่สามารถทำสีเข้มสีอ่อนได้เฉยๆ เช่น บางเวลาที่เกิดอันตราย โดนศัตรูกำลังจะโจมตีใส่ หรือโดนเพื่อนด้วยกันขู่ มันอาจจะทำสีตัวให้ดูเข้มขึ้น บางช่วงที่ใกล้จะลอกคราบสีก็จะทึมๆ เพิ่มนิดหน่อย

โดยการจับหรือนำ จิ้งจกเขียวมาดากัสการ์ มาเล่น ไม่แนะนำให้จับโดยการกำหรือตะปบ เพราะด้วยความที่ว่าผิวหนังของมันมีความอ่อนไหวสูง บางตัวเมื่อจับไปมันจะหมุนตัวแล้วสลัดหางหรือหนังออกทันที ซึ่งหนังจะลอกง่ายมากๆ หางที่เคยหลุดออกมาแล้วและงอกขึ้นใหม่ เราจะเห็นความแตกต่างระหว่างสีตัวและสีหางว่ามันจะไม่กลมกลืนกัน

ถ้าจะเล่นกับ จิ้งจกเขียวมาดากัสการ์ สัตว์เลี้ยงแปลกใหม่ นี้ให้ใช้น้ำหวานทาที่มือแล้วยื่นให้กิน ทำแบบนี้บ่อยๆ มันจะชินแล้วมาให้จับเอง เสียงร้องของมันเป็นเสียงเบาๆ แต่ว่าจะไม่เหมือนกับจิ้งจกหรือตุ๊กแกบ้านเรา จะมีเพียงแค่เสียงขู่กัน เป็นเสียงที่เล็กๆ น้อยๆ

จิ้งจกเขียวมาดากัสการ์ เปลี่ยนสีได้และลอกหนังได้ เวลาจะเล่นกับมันให้ใช้น้ำหวานทาที่มือก่อน

สถานที่ควรเลี้ยง จิ้งจกเขียวมาดากัสการ์

            สถานที่เลี้ยง จิ้งจกเขียวมาดากัสการ์ สัตว์เลี้ยงแปลกใหม่ นี้ ควรจัดให้อยู่ในตู้ขนาดพื้นที่กว้าง มีฝามุ้งลวดปิดเพื่อกันเจ้าจิ้งจกหนีออกมา อากาศภายในต้องมีความโปร่ง เนื่องด้วยธรรมชาติของ จิ้งจกเขียวมาดากัสการ์ จะชอบอาศัยอยู่ตามพื้นที่ที่มีต้นไม้ ใบไม้ ดอกไม้เยอะๆ มักปรับสีสันของตัวเองไปตามแต่สภาพแวดล้อม

จิ้งจกเขียวมาดากัสการ์ จึงควรจัดพื้นที่เลี้ยงเลียนแบบธรรมชาติให้ได้มากที่สุด เพราะ จิ้งจกเขียวมาดากัสการ์ ชอบตากแดดเหมือนกัน เวลาเจอแดดมันจะเปลี่ยนสีเป็นสีเขียวอมฟ้าสดใสมากเลยทีเดียว แนะนำการจัดสภาพในให้ตู้มีต้นไม้เน้นใบเขียวเยอะๆ มีกิ่งไม้ โพรง หรือซอกให้หลบเท่านี้ก็เพียงพอแล้ว

ส่วนแสงสว่างถ้าเลี้ยง จิ้งจกเขียวมาดากัสการ์ ในบ้านให้ใช้หลอดไฟสำหรับสัตว์เลื้อยคลาน ประมาณ 50 วัตต์ เปิดให้แสงยามเช้า ช่วงเวลาประมาณ 8-10 โมง หรือจะเปิดเวลาอื่นก็ใช้แสงในบ้านปกติทั่วไปได้เลย

สถานที่เลี้ยง จิ้งจกเขียวมาดากัสการ์ ควรเป็นในตู้ที่กว้าง และจัดพื้นที่ให้เลี้ยงเลียนแบบธรรมชาติที่สุด

อาหารของ จิ้งจกเขียวมาดากัสการ์ ที่กินเป็นส่วนใหญ่

            การออกหากินของ จิ้งจกเขียวมาดากัสการ์ สัตว์เลี้ยงแปลกใหม่ นั้นจะหากินในเวลากลางวัน ซึ่งจะแตกต่างจากจิ้งจกหรือตุ๊กแกส่วนใหญ่ตามบ้านเรา ซึ่งพวกนี้จะหากินแมลงในตอนกลางคืน

อาหารที่ จิ้งจกเขียว มาดากัสการ์ กินเป็นส่วนใหญ่มักจะเป็นสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กเช่น แมลง ผีเสื้อ จิ้งหรีด หนอน หรือแม้กระทั้งสัตว์ที่มีขนาดเล็กอย่างลูกหนูตัวแดงๆ มันก็สามารถกินได้

อาหารที่ จิ้งจกเขียว มาดากัสการ์ กินเป็นส่วนใหญ่มักจะเป็นสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กเช่น แมลง ผีเสื้อ จิ้งหรีด หนอน

ความพิเศษของ จิ้งจกเขียวมาดากัสการ์

จิ้งจกเขียว มาดากัสการ์ พันธุ์นี้ก็จะพิเศษกว่าจิ้งจกทั่วไปคือ กินผลไม้รสหวาน กินเกสรดอกไม้ซึ่งเป็นสิ่งที่มันชอบกินมากกว่าสิ่งอื่น และ จิ้งจกเขียว มาดากัสการ์ มันยังเป็นสิ่งสำคัญที่คอยช่วย ในเรื่องของการผสมเกสร คล้ายกับพวกผึ้งอีกด้วย อย่างเช่น เมื่อมันไปกินเกสรของดอกไม้ต้นนี้ แล้วก็ไปกินเกสรของดอกไม้อีกต้น เท่ากับเป็นการช่วยผสมพันธุ์ของพืช

            ส่วนการเพาะขยายพันธ์ุ จิ้งจกเขียว มาดากัสการ์ สามารถทำได้เลยในที่ที่เลี้ยง มันจะออกไข่ครั้งละ 2 ฟอง แล้วออกไปเรื่อยๆ มักออกไข่ติดตาม ใบไม้ หรือซอกมืดๆ ต่างๆ เมื่อเราเจอไข่ให้หยิบออกมาฟักเอง อย่าปล่อยให้มันฟักในตู้ เพราะแม่ของมันจะมากิน เนื่องจากในธรรมชาติมันเป็นพวกไข่แล้วทิ้ง ใช้เวลาฟักประมาณ 50-80 วัน และการแยกเพศพวกนี้เหมือนจิ้งจก ตุ๊กแกทั่วไป ตัวผู้เมื่อโตเต็มที่จะมีไข่สองเม็ดที่โคนหาง และมีแถบสีเหลืองส้มตรงระหว่างขาหลังด้วย ส่วนตัวเมียก็จะไม่มี

การขยายพันธุ์ของจิ้งจกเขียวมาดากัสการ์ จะออกไข่ครั้งละ 2 ฟอง และให้หยิบออกมาฟักเอง อย่าปล่อยให้มันฟักในตู้

            ดังนั้นแล้วการเลี้ยง จิ้งจกเขียว มาดากัสการ์ หรือการเลี้ยงสัตว์ใดก็ตาม ไม่ว่าจะเป็น สัตว์เลี้ยงแปลกใหม่ หรือสัตว์ที่เราคุ้นเคยก็ตาม ควรศึกษาที่มาและธรรมชาติความเป็นอยู่ของสัตว์ก่อน โดยจะต้องรู้ว่าอยู่อย่างไร เลี้ยงอย่างไรให้สุขภาพจิตใจของเขาดีด้วย ไม่อย่างนั้นสิ่งเหล่านี้จะส่งผลให้เกิดความเครียด และอาการเจ็บปวดตามมา ถ้าไม่ศึกษาวิธีการเลี้ยงอาจจะมีโอกาสทำให้สัตว์ที่เราเลี้ยงตายสูง

อย่างไรก็ตามคงไม่มีใครอยากทำให้สัตว์ตัวนั้นตายโดยที่ไม่ได้ตั้งใจแน่นอน ฉะนั้นแล้วต้องหาข้อมูลก่อนเลี้ยงให้ดี ต้องคำนึงถึงโรคที่อาจเกิดขึ้นในสัตว์เลี้ยงประเภทพิเศษ ควรหาโรงพยาบาล คลินิก ที่เฉพาะทางของสัตว์เหล่านี้ไว้ล่วงหน้าด้วย เมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดจะได้นำมารักษาได้ทัน

เว็บไซต์เรามีคำแนะนำ ข้อมูลการเลี้ยงสัตว์ สำหรับคนที่กำลังมองหาสัตว์เลี้ยงแสนน่ารัก