การเลี้ยงนกกระทา เพื่อนำไข่มาขาย สร้างรายได้มากมาย

การเลี้ยงนกกระทา เพื่อนำไข่มาขาย

เมื่อเอ่ยชื่อ “นกกระทา” อาจฟังดูไกลตัว แต่หากนึกถึงรายการอาหารที่มีไข่ฟองเล็กๆ ประดับในถ้วยอย่างเช่นกระเพาะปลา คุณก็จะรู้สึกว่าคุ้นเคยกับนกกระทาขึ้นมาทันที

ขอแนะนำ การเลี้ยงนกกระทา ที่เราสามารถนำไข่นกกระทามาสร้างรายได้และเป็นการเลี้ยงที่มีขั้นตอนไม่ยุ่งยาก ตามมาดูกันได้เลย

การเลี้ยงนกกระทา

การเลี้ยงนกกระทา ที่เกษตรกรในเมืองไทยนิยมเลี้ยงที่สุด

นกกระทา เป็นสัตว์เลี้ยงตัวเล็กๆ ที่สร้างรายได้และทำกำไรงามให้แก่ผู้เลี้ยงมาจนถึงทุกวันนี้ เพราะกระแสความนิยมบริโภคไข่นกกระทาจากผู้บริโภคยังตอบรับดี รวมทั้งเนื้อนกก็เป็นอาหารได้เช่นเดียวกัน

            ที่จริง นกกระทา ในประเทศไทยมีไม่ต่ำกว่าสิบสองชนิด แต่ปรากฏว่าสู้นกกระทาญี่ปุ่นไม่ได้ เพราะญี่ปุ่นเป็นประเทศแรกในเอเชียที่นำนกกระทามาเลี้ยงและได้พัฒนาจนกระทั่งได้นกกระทาสายพันธุ์ที่ออกไข่ได้มากกว่าและยังให้เนื้อมากกว่านกกระทาของไทย ที่น่าสนใจมากกว่านั้นก็คือ มีโรคน้อย แข็งแรง ดูจากลูกนกอายุเพียงสองสัปดาห์ก็แข็งแรงดีมาก อีกทั้งยังเลี้ยงง่าย ไม่ต้องการพื้นที่มาก เพียงช่วยป้องกันแดด ลม และฝนกับศัตรูต่างๆ เท่านั้น ทั้งยังปรับตัวเข้ากับสภาพดินฟ้าอากาศในบ้านเราได้ดี

การเลี้ยงนกกระทา ที่เกษตรกรในเมืองไทยนิยมเลี้ยง

            ด้วยเหตุนี้เอง การเลี้ยงนกกระทา จึงทำให้เกษตรกรในเมืองไทยนิยมเลี้ยงนกกระทาญี่ปุ่นมากที่สุดเมื่อเทียบกับพันธุ์อื่นๆ และที่น่าทึ่งคือ เมื่อนกกระทาอายุได้ 42-45 วัน นกก็จะเริ่มออกไข่ ซึ่งถือว่าให้ผลผลิตเร็วกว่าไก่เสียอีก โดยที่ไม่จำเป็นต้องให้วัคซีนหรือยาถ่ายพยาธิ เนื่องจากมีภูมิต้านทานโรคดีกว่าไก่ 

สำหรับอาหารที่ใช้ใน การเลี้ยงนกกระทา อาจใช้อาหารสำเร็จรูปหรือผสมเองก็ได้ โดยเน้นโปรตีน เช่น ใช้อาหารไก่บดรวมกับหัวอาหารหมู และเน้นที่การให้น้ำสะอาดเพียงพอแก่นกด้วย       

นกกระทา เพศเมียตัวหนึ่งสามารถออกไข่ต่อเนื่องไปเป็นระยะเวลาเกือบปีเลยทีเดียว และหากนกหยุดออกไข่ ผู้เลี้ยงก็สามารถขายเป็นนกเนื้อได้อีกด้วย เนื่องจากเนื้อนกกระทามีคุณภาพดี ทำอาหารได้หลากหลาย ในขณะที่มูลของนกกระทาเมื่อตากแห้งแล้ว ยังสามารถขายเป็นปุ๋ยให้ชาวสวนนำไปบำรุงพืชผลได้อีกด้วย เช่น ลองกอง และมังคุด

การเลี้ยงนกกระทา ต้องระมัดระวังเรื่องโรคติดต่อ

การเลี้ยงนกกระทา ทำได้สองลักษณะ คือ เลี้ยงเพื่อการขยายพันธุ์ กับ เลี้ยงเพื่อขายไข่ หากใครสนใจทดลองเลี้ยงนกกระทาซึ่งเป็นทางเลือกที่ไม่ต้องใช้ต้นทุนสูง ควรซื้อพันธุ์ จากฟาร์มที่สามารถเพาะลูกนกกระทาขายโดยเฉพาะจะได้ผลดีกว่าการซื้อไข่นกมาฟักเอง

สุดท้ายคือ ต้องระมัดระวังไม่ให้มีศัตรูได้แก่ นกชนิดอื่น หนู แมลงสาบ แมลงต่างๆ เข้าไปรบกวนนกกระทาในโรงเลี้ยงเพื่อความปลอดภัยของลูกนก และหลีกเลี่ยงโรคติดต่อที่อาจจะเกิดกับนกกระทาด้วย

เว็บไซต์เราได้มีบทความน่ารู้ ข้อมูลสัตว์เลี้ยง ที่น่าเลี้ยงมาให้คุณไว้แล้วที่นี่