มีไหมที่แก๊งสี่ขาของคุณมีอาการซึม หรือคุณหมอเอาค่าเลือดไปตรวจพบว่าค่าไตมีปัญหา หรือสุขภาพของเจ้าสี่ขาของคุณรู้สึกไม่สบายจนเสียชีวิตในเวลาอันรวดเร็วบ้างไหม ถ้าหากมีแสดงว่าน้องต้องมีปัญหาเรื่องไตแน่ๆ เลย อย่าเมินเฉยต่ออาการเหล่านี้เชียวล่ะ
วันนี้จะมาอธิบายทั้งในส่วนของเนื้อหา วิธีการดูแล โรคไตในสุนัขและแมว ยังไงบ้างเพื่อยืดอายุของน้องไปยาวนานแสนนาน จึงเป็นเรื่องที่ควรค่าแก่การศึกษาอย่างมาก
โรคไตในสุนัขและแมว และหน้าที่ไตจะมีหน้าที่หลักดังนี้
- ทำหน้าที่คล้ายๆ Filter ของร่างกายเจ้าสี่ขา ช่วยกรองของเสียออกจากเลือด และกำจัดออกทางปัสสาวะ
- ช่วยควบคุม ปรับสมดุลของแร่ธาตุต่างๆ เช่น โซเดียม ฟอสฟอรัส แคลเซียม โพแทสเซียม และแร่ธาตุอื่นๆ เป็นต้น
- ผลิตฮอร์โมนช่วยควบคุมความดันเลือด สร้างเม็ดเลือดแดง
โรคไตคืออะไร
โรคไต (Kidney Disease) เป็นโรคความผิดปกติของไต ซึ่งโรคไตเป็นกลุ่มโรคที่ทำให้ไตเกิดความเสียหาย หรือไตทำงานได้เสียประสิทธิภาพ ทำให้ไม่สามารถทำหน้าที่กรองของเสียออกจากร่างกายได้เลย ถ้าพูดง่ายๆ โรคไตในสุนัขและแมว ก็คือกลไกการทำงานของไตในสุนัข ในแมว ทำหน้าที่คล้ายๆ ไตของคนอย่างมาก เพียงแต่ไม่สามารถกรองฟอสฟอรัส โซเดียม หรือแร่ธาตุต่างๆ ได้เหมือนมนุษย์เท่านั้นเอง
นี่แหล่ะควรเป็นสิ่งที่บรรดาเจ้านายคุณตูบกับบรรดาทาสแมว รวมทั้งแก๊งสี่ขาทั้งหลายควรตระหนักอย่างมาก เพราะถ้าให้อาหารที่มีแร่ธาตุสูงเกินไป หรือให้อาหารของคนแบ่งให้สัตว์กิน นอกจากจะทำให้เคยตัวแล้ว ยังเสียในระยะยาวอย่างมาก ทำให้มีของเสีย (Waste) ในร่างกายสัตว์ สูญเสียค่าสมดุล pH ที่มีผลต่อกรด-ด่าง น้ำและแร่ธาตุแต่ละชนิดในกระแสเลือด ส่งผลต่อการหลั่งฮอร์โมนในร่างกาย ระบบทางเดินอาหาร ระบบหัวใจและไหลเวียนเลือดตามมา
จุดเสี่ยงต่อการเกิดโรคไตอยู่ที่ไหน
ถึงแม้จะเป็นสัตว์ชนิดเดียวกัน ทั้งสุนัข แมว แต่ใช่ว่ากลไกการทำงานของไตจะเหมือนกัน ซึ่งจะขอแบ่งปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิด โรคไตในสุนัขและแมว ขอแบ่งได้ตามลักษณะดังนี้
- ช่วงอายุของเจ้าสี่ขา : เมื่อสัตว์เลี้ยงทั้งสุนัขมีอายุเฉลี่ย 6.6. ปีขึ้นไป และแมวมีอายุ 12 ปีขึ้นไป โดยเฉพาะถ้าสุนัขและแมวเป็นวัยที่สูงอายุ
- สายพันธุ์ที่เสี่ยง : ในบรรดาเจ้าของเลี้ยงสุนัขสายพันธุ์ ชิห์สุ, อิงลิช ค็อกเกอร์ สแปเนียล, บลู เทอร์เรียร์, ลาซาแอปโซ่, โดเบอร์แมน และเยอรมัน เชฟเพิร์ด มีโอกาสเสี่ยงต่อโรคไตอย่างมาก ส่วนใครที่เลี้ยงแมวในสายพันธุ์ เทอร์กิซ แองโกรา, เปอร์เซีย, เมนคูน, และอะบิสซิเนียน ต้องมีการตรวจสุขภาพไตอย่างสม่ำเสมอ
- อาหาร : อาหารที่มีปริมาณฟอสฟอรัสสูง หรือมีปริมาณโปรตีนสูงเกินไป จะทำให้เกิดการสะสมของแร่ธาตุในร่างกายสูงมาก รวมทั้งอาหารของคนที่ให้สัตว์เลี้ยงโดยไม่ตั้งใจและตั้งใจ
- ปัจจัยเสี่ยงอื่น : เช่นการติดเชื้อ โรคนิ่ว การได้รับสารพิษบางชนิด เช่น สารที่ใช้ฆ่าเชื้อโรค สีทาบ้าน ซึ่งห้ามให้สัตว์เลี้ยงเข้าใกล้เด็ดขาด
อาการที่ควรสังเกต
ใครที่เลี้ยงสัตว์เลี้ยงสี่ขาควรสังเกตอาการดีๆ ส่วนมากบรรดาแก๊งสี่ขาที่มีภาวะเสี่ยงจะไม่แสดงอาการใดๆ ออกมาเลย กว่าจะแสดงอาการออกมา ไตก็เสียหายมาแล้ว 75% โดยอาการจะแตกต่างกัน จะสังเกตได้ดังนี้
- คลื่นไส้อาเจียน
- มีกลิ่นปาก ลมหายใจเหม็น แผลในปาก เช่น โรคทันตกรรมเรื้อรัง
- ดื่มน้ำมากขึ้น ซึ่งอาการเหล่านี้แสดงชัดเจนทั้งสุนัขและแมว
- เบื่ออาหาร จะไม่ยอมกินอะไรเลย มีอาการซึม
- ขนไม่เงางาม
- อิดโรย เฉื่อยชา นอนมากขึ้น
- น้ำหนักตัวลดลง
โรคไตในสุนัขและแมว เป็นโรคที่อันตรายต่อชีวิตอย่างมาก หากพบอาการดังกล่าวควรรีบพาไปพบสัตวแพทย์โดยทันทีเพื่อขอคำแนะนำ หรือวินิจฉัยเพิ่มเติม เพื่อทำการรักษาสุขภาพ รักษาชีวิตโดยเร็วที่สุด
แนวทางการดูแลรักษาโรคไต
เมื่อมีความเสียหายที่อวัยวะ จะทำให้มีฟอสฟอรัสสะสมในกระแสเลือด ส่งผลต่อระบบฮอร์โมนและปัญหาทางระบบในร่างกายของสัตว์เลี้ยงคู่ใจของคุณตามมา เมื่อได้รับการวินิจฉัย ยืนยันเป็นที่แน่ชัดแล้วนั้น ควรปรับวิธีการให้อาหารที่มีฟอสฟอรัสต่ำเพื่อช่วยลดการเกิดนิ่ว หรือชะลออาการรุนแรงของโรคนั้น เพื่อยืดอายุขัยของน้องให้ยืนขึ้น
ควรรีบปรึกษาสัตวแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัย และหาสาเหตุต่อการเกิดโรคไต เพื่อสัตว์เลี้ยงของคุณได้รับการรักษาอย่างถูกต้องและทันเวลา สัตวแพทย์มักจะแนะนำให้ตรวจเลือดเพื่อหาค่าความผิดปกติทั้งเม็ดเลือดแดง ค่าไต เพื่อดูสุขภาพของสัตว์เลี้ยงของคุณว่ามีปัญหาอะไรบ้าง สภาพความเสียหายของไต มีภาวะโลหิตจางร่วมไหม
นอกจากนี้อาจตรวจตัวอย่างปัสสาวะหรือทำการเอ็กซเรย์เพิ่มเติม เพื่อหาต้นตอของ โรคไตในสุนัขและแมว ได้แม่นยำ รวดเร็วขึ้น การรักษามักจะเป็นแบบประคับประคองก่อน จะรักษาตามอาการที่เกิดขึ้นตามสภาวะ เช่น ทางสัตวแพทย์จะให้สารน้ำเพื่อรักษาระดับความดันเลือด และกำจัดของเสียที่สะสมในกระแสเลือด ถ้ามีอาการอาเจียนเนื่องจากแร่ธาตุตก สัตวแพทย์จะให้ยาลดอาการอาเจียน หรือยาบำรุงเม็ดเลือด เพื่อบำรุงเม็ดเลือดแดงให้อยู่ในสภาพปกติ
ในส่วนของการรับประทานอาหารของน้องสี่ขา นอกจากทานอาหารที่มีฟอสฟอรัสต่ำแล้ว อย่าลืมมองข้ามอาหารกลุ่มที่มีโอเมก้า 3 หรือกรดไขมันจากน้ำมันปลา (จะได้ผลดีและไม่มีผลข้างเคียงจากน้ำมันตับปลาเลย) จะมีฤทธิ์ในการต้านการอักเสบของไตในสัตว์ที่ป่วยด้วยโรคไตวายเรื้อรัง (Chronic Kidney Disease) วิตามินซีและอี ช่วยชะลอความเสื่อมและปกป้องเยื่อหุ้มเซลล์ โพลีฟีนอล (Polyphenols) ทำหน้าที่ปกป้องนิวเคลียส์ในเซลล์ ลูทีนและเบต้าแคโรทีน ช่วยปกป้องเซลล์ของสิ่งมีชีวิต
ความสำคัญของอาหารก็สำคัญนะ
อาหารมีส่วนสำคัญในการจัดการกับ โรคไตในสุนัขและแมว และเป็นส่วนประกอบในการรักษาให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ จะช่วยชะลอความรุนแรงของโรคให้บรรเทาลง และยืดอายุให้สุนัขและแมว จะมีจุดเด่นที่ควรมีดังนี้
- มีความน่ากินสูงเป็นหลัก เพื่อดึงดูดให้น่ารับประทาน แต่ต้องมีปริมาณฟอสฟอรัสและโซเดียมต่ำ
- ประกอบด้วยโปรตีนคุณภาพที่ดีในปริมาณที่เหมาะสม
- มีโอเมก้า 3 เพื่อลดอาการอักเสบของไต
- เสริมวิตามินบี และแร่ธาตุจำเป็นต่อสัตว์ที่ป่วย เพราะมีปัญหาด้านสมดุลกรด-ด่าง แร่ธาตุและน้ำ ซึ่งวิตามินนี้จำเป็นต่อร่างกายอย่างมาก
- มีวิตามินซีและอี ลูทีน เบต้าแคโรทีน ซึ่งเป็นสารปัจจัยช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ ชะลอความเสื่อมของไตให้กลับมาทำงานได้ดีขึ้นกว่าที่เป็น
- แบรนด์ที่แนะนำ Royal Canin เพราะเป็นอาหารที่สัตวแพทย์แนะนำ และปลอดภัย รักษาอาการได้ตรงจุดกว่า จึงเป็นอาหารที่ควรทานอย่างมาก
เว็บไซต์เราได้มีบทความน่ารู้ ข้อมูลสัตว์เลี้ยง ที่น่าเลี้ยงมาให้คุณไว้แล้วที่นี่
- สุนัขบีเกิ้ล สุนัขพันธุ์เล็กจมูกดีไวต่อกลิ่นมากๆ น่าเลี้ยงสุดๆ
- สุนัขพันธุ์พูเดิ้ล สุนัขที่มีความสามารถพิเศษ เหมาะกับคนรักสุนัข
- อาหารสำหรับหมาอายุเยอะ ดูแลยังไงให้สุขภาพดี อยู่กันไปนานๆ
- หมาจรจัด นำมาเลี้ยงได้มีความน่ารักน่าเอ็นดู ได้บุญ ไม่ต้องสนับสนุนการค้าชีวิต
เราได้รวบรวมข้อมูลการเลี้ยงสัตว์ และสัตว์เลี้ยงแสนน่ารักมากมาย เรามีทั้งเคล็ดลับและวิธีการเลี้ยง เพื่อให้คุณเข้าใจสัตว์เลี้ยงของคุณมากขึ้น ไม่อยากพลาดข้อมูลสัตว์เลี้ยงต่างๆ ติดตามเราได้ที่ contactnumbersuk.com และถ้าหากคุณกำลังมองหาการเดิมพันที่สามารถสร้างรายได้ให้คุณได้จริงๆ ขอแนะนำ สมัคร UFABET เว็บไซต์คุณภาพที่จะมาสร้างความสุขให้กับคุณได้อย่างแน่นอน